เป็นองค์กรผู้นำในการพัฒนาอาชีพชิปปิ้งคนไทยให้มั่นคง
และยั่งยืน บริการด้วยมาตรฐานสากลอย่างครบวงจร มีเครือข่าย
พันธมิตรครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค
1. เป็นองค์กรของผู้ประกอบอาชีพตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) และเป็นศูนย์กลางความร่วมมือ
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิก ในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพ
2. ส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ที่พึงได้ของสมาชิกตามกฎหมายอย่างเสมอภาค
และเท่าเทียมกัน
3. ส่งเสริมการศึกษา การวิจัยและพัฒนาความรู้ความสามารถของสมาชิก เพื่อยกระดับมาตรฐาน
การประกอบอาชีพตัวแทนออกของให้เป็นสากล ก้าวหน้าและทันสมัย
4. เป็นสถาบันผลิตบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในระบบการค้า และบริการระหว่างประเทศ
5. สร้างชื่อเสียงและภาพพจน์ของสมาคมให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของสังคม ทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ
6. ส่งเสริมให้สมาชิกมีจรรยาบรรณ มีคุณธรรม และซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบอาชีพ ตลอดจน
ไม่กระทำการใดๆ อันขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม
7. ให้ความร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชน สมาคม สถาบัน
องค์การต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อประโยชน์แก่มวลสมาชิกและประเทศชาติ
8. ส่งเสริมความสามัคคีในหมู่สมาชิก รวมทั้งส่งเสริมการกีฬาและบันเทิง
9. ดำเนินกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา และการเมืองไม่ว่าระดับใดก็ตาม
- ผลักดันให้อาชีพตัวแทนออกของมีสถานภาพตามกฎหมาย
- กำหนดอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผลและสอดคล้องกับต้นทุนการให้บริการ
- ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาบริการรูปแบบใหม่ ที่สอดคล้องกับการค้ายุคใหม่
- ส่งเสริมจรรยาบรรณของสมาคมให้เป็นหลักธรรมในการประกอบอาชีพอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี
- สร้างเครือข่ายสมาชิก เพื่อลดต้นทุนและสามารถให้บริการได้ครบวงจร
- ผลิตบุคคลากรที่มีความรู้และความชำนาญ ป้อนเข้าสู่ธุรกิจชิปปิ้งให้เพียงพอ
- ร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนในการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพให้สูงขึ้นและเป็นสากล
- ส่งเสริมสมาชิกให้ขยายการลงทุนไปให้บริการในประเทศสมาชิกอาเซียน
- สร้างหลักประกันคุ้มครองอาชีพ ลดความเสี่ยง เพื่อความมั่นคงและยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มรายได้และลดต้นทุนการให้บริการ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 นำเทคโนโลยีมาพัฒนานวัตกรรมใหม่เพื่อการตลาดยุคใหม่
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบตัวแทนออกของให้แข็งแกร่ง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีมาตรฐานสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างพันธมิตรและเครือข่ายทั้งในและนอกประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 สร้างหลักประกันคุ้มครองอาชีพ ลดความเสี่ยง
พ.ศ. 2490-2496 นายจิ้นซ้ง แซ่จิว (6 ปี)
* นายจิ้นซ้ง แซ่จิว เปลี่ยนชื่อนามสกุล เป็น นายสุวิช ดิลกวณิช
พ.ศ. 2496-2497 นายกิมฉ่อง แซ่ลิ้ม (1 ปี)
พ.ศ. 2497 2499 นายเตี่ยวเกา แซ่อื่อ (2 ปี)
พ.ศ. 2499-2507 นายสุวิช ดิลกวานิช* (8 ปี)
พ.ศ. 2507-2508 นายโสภณ กาฬดิษย์ (1 ปี)
พ.ศ. 2508-2510 นายบัญชา วรรณศิลป์ (2 ปี)
พ.ศ. 2510-2511 นายบุญเย็น ตันไพบูลย์ (1 ปี)
พ.ศ. 2511-2540 นายทวิช กลิ่นประทุม (30 ปี)
พ.ศ. 2541-2543 นายอรุณ สันธนาภรณ์ (2 ปี)
พ.ศ. 2543-2544 นายชวลิต บุญเกียรติบุตร (1 ปี)
พ.ศ. 2544-2557 นายยรรยง ตั้งจิตต์กุล (13 ปี)
พ.ศ. 2557-2559 นายณัฐสพรรษ กรึงไกร (2 ปี)
พ.ศ. 2559-ปัจจุบัน นายยรรยง ตั้งจิตต์กุล
สมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทยในยุคแรก เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่ม
บริษัทห้างร้านที่นำเข้าสินค้าจากประเทศจีนบนถนนทรงวาด ใกล้กับท่าเรือราชวงศ์ ย่านสำเพ็ง และถนนเยาวราชซึ่งเป็นย่านธุรกิจนำเข้าสินค้าจากต่าง
ประเทศที่สำคัญในอดีตนายจิ้นซ้ง แซ่จิว (ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็น นายสุวิช ดิลก
วณิช)
และกลุ่มเพื่อนชิปปิ้งชาวจีนในย่านทรงวาด ได้ยื่นขออนุญาตจัดตั้ง
สมาคมจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ชื่อว่า “สมาคมชิปปิ้งเฮียบอัง” เมื่อวันที่
14 มกราคม พ.ศ. 2490
และจดทะเบียนตั้งสมาคม กับกองตำรวจสันติบาล
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2490 ทะเบียนสมาคมเลขที่ จ.324/2490
ในระยะแรก
สมาคมฯ เป็นเพียงศูนย์กลางรับแจ้งความเสียหายของสินค้า
ที่เกิดจากการขนส่งจากประเทศจีนโดยทางเรือ สินค้าส่วนใหญ่เป็นของบริโภค
ที่บรรจุมาในไห จึงมักแตกเสียหายอยู่เสมอ
ดังนั้น ทุกครั้งที่เรือสินค้ามาถึง
บรรดาห้างร้านต้องมาแจ้งความเสียหายที่เกิดขึ้น สมาคมฯ จะทำหน้าที่ไกล่
เกลี่ยและคำนวณค่าเสียหายที่เจ้าของเรือต้องชดใช้ให้กับเจ้าของสินค้าเหล่านั้น
การบริหารสมาคมฯ เป็นแบบ “ร่วมด้วยช่วยกัน” ทั้งกำลังทรัพย์และกำลัง
งาน
เจ้าของห้างร้านต่างๆ ส่งตัวแทนมาช่วยกันบริหารงานของสมาคมฯ โดย
ไม่มีค่าตอบแทน ไม่มีการแต่งตั้งเลขาธิการหรือเหรัญญิกอย่างสมาคมใน
ปัจจุบัน
หลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง เมื่อรัฐบาลสร้างท่าเรือแห่งใหม่
ที่ตำบลคลองเตยเสร็จ ใน พ.ศ. 2494 เรือสินค้าที่เดิมเคยเทียบท่าเรือ
เอกชนริมแม่น้ำย่านบางรัก รัฐบาลกำหนดให้เรือสินค้าต้องมาเข้า
เทียบท่าเรือใหม่แทน กรมศุลกากรจึงได้ย้ายที่ทำการมาอยู่บริเวณ
คลองเตยใกล้ท่าเรือ
เมื่อ พ.ศ. 2497 ทำให้ปริมาณสินค้านำเข้าส่งออก
เพิ่มขึ้น การผ่านพิธีการนำเข้าส่งออกสะดวกมากขึ้น จำนวนชิปปิ้ง
เพิ่มมากขึ้น
เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ใหม่ที่จะทำให้อาชีพชิปปิ้งมี
ความเป็นปีกแผ่นมั่นคง
จึงได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น “สมาคมส่งเสริม
สวัสดิการชิปปิ้ง” (SHIPPING WELFARE ASSOCIATION) (ภาษา
จีนเรียกว่า “ปอ-กวง-กง-หวย”) เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2505
และย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ 2457/3 ถนนพระราม 4 ตำบลคลองเตย
อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2506
สมาคมฯ ย้ายที่ทำการไปอยู่เลขที่ 137-141 ถนนสุนทรโกษา
ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512
และยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมา สมาคมฯ เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น สมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย (ส.ช.ท.)
และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า
The Customs Broker and Transportation Association of Thailand (CTAT) เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513
- สมาคมฯ เป็นคนกลางไกล่เกลี่ยและคำนวณค่าเสียหายที่เจ้าของเรือต้องชดใช้ให้กับบริษัทเจ้าของสินค้าที่เสียหายระหว่างการขนส่ง โดยเจรจาขอลดหย่อน (ที่เรียกว่า “เกี้ยเซี้ย”) หลังจากบริษัทเรือชดใช้ค่าเสียหายแล้ว สามารถจะนำสินค้าที่ยังเหลือส่งมอบให้แก่บริษัทผู้สั่งซื้อเพื่อจำหน่ายต่อให้กับ “ยี่ปั้ว” ต่อไปเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าของสินค้า
- นายสุวิช ดิลกวณิช อดีตนายกสมาคม เมื่อครั้งเป็นผู้จัดการคนแรกของธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาคลองเตย เห็นความไม่สะดวกและไม่ปลอดภัยของชิปปิ้งที่ต้องพกพาเงินสดจำนวนมากมาชำระค่าภาษีที่กรมศุลกากร เจ้าหน้าที่ผู้รับชำระต้องเสียเวลานับเงินสด ทอนเงินสด จึงเสนออธิบดีกรมศุลกากรให้ยอมรับชำระค่าภาษีอากรด้วยแคชเชียร์เช็คเพิ่มอีก 1 ช่องทาง จากเดิมที่รับชำระด้วย เงินสดเพียงอย่างเดียวทำให้สะดวก รวดเร็วขึ้นมาก และปลอดภัยด้วย
- สมาคมฯ เปิดโรงเรียนสอนวิชาชิปปิ้งแห่งแรกของประเทศไทย ณ ที่ทำการสมาคม ถนนสุนทรโกษา ตามดำริของ ม.ร.ว.ทองแท่ง ทองแถม อธิบดีกรมศุลกากร ชื่อว่า “โรงเรียนสถานฝึกอบรมทางวิชาการนำเข้าและส่งออก” (พ.ศ. 2512)
- ริเริ่มโครงการ “รวมทุนชิปปิ้งไทย” โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรวมตัวกันของชิปปิ้งรายย่อยเพื่อลดต้นทุนและพึ่งพาอาศัยกันเพื่อความอยู่รอดในภาวะต่างชาติรายใหญ่เข้ามาแย่งงาน (พ.ศ. 2547) แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
- จัดทำ “คู่มือ ชิปปิ้ง ” รวบรวมความรู้ หลักเกณฑ์ กฎระเบียบ และเรื่องน่ารู้ที่จำเป็นต่อการทำงานของชิปปิ้ง แจกให้สมาชิกในวันประชุมใหญ่ (พ.ศ.2549)
จัดระเบียบตัวแทนออกของ ในสมัย นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์เป็นอธิบดีกรมศุลกากร สมาคมฯ เสนอให้จัดระบบตัวแทนออกของให้เป็นระเบียบ ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล พนักงานลูกจ้างจะต้องมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่า ม.6 หรือเทียบเท่าและผ่านการอบรมหลักสูตรตัวแทนออกของ ทั้งนี้ เพื่อให้มีมาตรฐานที่ดี มีจรรยาบรรณ เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ ซึ่งต่อมา อธิบดีกรมศุลกากร ได้ออกประกาศกรมศุลกากรที่ 13/2549 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 จัดระเบียบตัวแทนออกของ และกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาคมในการตรวจสอบ รับสมัคร และกำกับดูแลสมาชิกให้ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
สมาชิกเว็บไซต์สามารถใช้งานฟีเจอร์ของเว็บไซต์ได้อย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสมัครเรียนกับ iTi การส่งสมัครงาน การใช้ระบบพิกัด/คำวินิจฉัย การรับช่าวสาร อ่านเพิ่มเติม