ข่าวสาร

ข่าว กิจกรรม และหลักสูตรอบรม ประกาศสำคัญที่ทุกท่านสนใจ

ปลาสวยงาม (Ornamental Fish) ในสิงคโปร์

05 Jun 2019
 5,677

ปลาสวยงาม (Ornamental Fish) ในสิงคโปร์ 

สิงคโปร์ถึงแม้ว่าจะเป็นประเทศที่มีข้อจำกัดทางด้านพื้นที่ในการทำเกษตรรวมถึงการทำฟาร์มเลี้ยงปลา แต่สิงคโปร์ก็ได้รับการยกย่องว่า เป็นเมืองหลวงของอุตสาหกรรมปลาสวยงาม สืบเนื่องจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีสภาพภูมิอากาศเขตร้อน มีอุณหภูมิสูง และมีฝนตกตลอดทั้งปี อีกทั้งระบบการขนส่งทางอากาศของสิงคโปร์ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยง ปลาเขตร้อนเป็นอย่างดี ทั้งนี้ ในปี 2559 สิงคโปร์เป็นผู้ส่งออกปลาสวยงามอันดับที่ 1 ของโลก โดยเป็นการส่งออกปลาสวยงามกว่า 1,000 สายพันธุ์ ไปยัง 80 กว่าประเทศทั่วโลก มีมูลค่ากว่า 43 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ  

อุตสาหกรรมปลาสวยงามในสิงคโปร์ แบ่งออกเป็นการเลี้ยงปลาและการส่งออก โดยผู้ประกอบฟาร์ม ปลาสวยงามจะการผลิตปลาสวยงามที่มีคุณภาพสูง รวมทั้งการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ และจำหน่ายให้กับผู้ส่งออก หรือผู้ประกอบการค้าส่งภายในประเทศ และผู้ส่งออกหรือผู้ประกอบการค้าส่งจึงส่งออกต่อไปยังประเทศต่างๆ  

ในปัจจุบันผู้ประกอบปลาสวยงามในสิงคโปร์ 5 ราย ได้รับการรับรองระบบการจัดการคุณภาพ (Quality Management System Certificate) ISO 9002 และการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environment Management Systems Certificate) ISO 14001 

สายพันธุ์ปลาสวยงามที่เพาะเลี้ยงเพื่อการส่งออกในสิงคโปร์  

หน่วยงาน Animal & Veterinary Service (AVS) ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยใน The National Parks Board (NParks) เป็นหน่วยงานควบคุมการนำเข้า-ส่งออกปลาสวยงามในสิงคโปร์ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการปลาสวยงามในสิงคโปร์จะต้องมีใบอนุญาตการนำเข้า-ส่งออก จากหน่วยงาน AVS เท่านั้น  

หน่วยงาน AVS ได้กำหนดสายพันธุ์และประเภท ของปลาสวยงาม (Ornamental Fish) ในสิงคโปร์ 1) พันธุ์ไม้ประดับจากทะเล 2) ปลาน้ำกร่อยหรือปลาน้ำจืด 3) Crustacea 4) หอยน้ำ 5) เต่า 6) ฟองน้ำทะเล     7) ปลิงทะเล 8) สัตว์น้ำรูปแบบอื่นๆ รวมถึงตัวอ่อนและไข่ แต่ ไม่รวมปลาที่มีไว้เพื่อการบริโภคของมนุษย์  

สายพันธุ์ปลาสวยงามที่เพาะเลี้ยงเพื่อการส่งออกในสิงคโปร์ ปัจจุบันมีมากกว่า 1,000 สายพันธุ์ ประมาณ 90% เป็นปลาสายพันธุ์น้ำจืด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ อาทิ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศอื่นๆ ส่วนปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดของสิงคโปร์มีอยู่ประมาณ 135 สายพันธุ์เท่านั้น 

สายพันธุ์ปลาสวยงามที่ส่งออกจากสิงคโปร์มากที่สุด 6 สายพันธุ์ ดังนี้ 1) GUPPIES 2) MOLLIES 3) PLATYFISH 4) GOLDFISH (Carassius auratus) 5) KOI carp (Cyprinus carpio) และ 6) Asian arowana (Scleropages formosus) 

ระบบการเลี้ยงและการบรรจุปลาสวยงามในสิงคโปร์  

ปัจจุบันในสิงคโปร์มีฟาร์มปลาสวยงามที่ได้รับอนุญาต 65 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เช่น Lim Chu Kang และ Sungei Tengah โดยผู้ประกอบการฟาร์มปลาสวยงามแต่ละรายใช้ระบบการเลี้ยงและการบรรจุที่แตกต่างกัน  

ในปี 2551 - 2552 ระบบการเลี้ยงปลาในบ่อเป็นที่นิยมมากที่สุด ส่วนประเภทและขนาดของบ่อจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ปลา ระดับน้ำในบ่อขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ เช่น หากอยู่ในช่วงฤดูแล้ง ผู้ประกอบการจะต้องเพิ่มปริมาณน้ำดี ซึ่ง่คุณภาพน้ำจะใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของดินที่อยู่ในบริเวณบ่อเลี้ยงปลา เนื่องจากความกระด้างของน้ำใน บ่อเลี้ยงปลาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยในดิน เช่น ดินที่มีอินทรียวัตถุสูง มีความเป็นกรด หรือมีความเป็นด่าง เป็นต้น  

ในปัจจุบันหลายบริษัท เช่น บริษัท Apollo Aquarium (Pte) Ltd ได้เริ่มระบบการเลี้ยงปลาในตู้ แก้วที่วางเรียงต่อกันในแนวตั้งเพื่อการประหยัดพื้นที่ในการเลี้ยงและยังเป็นการเพิ่มผลผลิตได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในกับบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ขนส่งปลาเพื่อการส่งออกปลาที่มีคุณภาพมากขึ้น 

การขอใบอนุญาตผู้ค้าปลาสวยงามในสิงคโปร์  

การนำเข้า-ส่งออกปลาสวยงามในสิงคโปร์ ผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตการนำเข้าส่งออกจากหน่วยงาน AVS

การสมัครและรับใบอนุญาตในการนำเข้า-ส่งออกปลาสวยในสิงคโปร์ จะต้องดำเนินการผ่านทางเว็บไซต์ LicenceOne เท่านั้น 

ขั้นตอนขอใบรับอนุญาตในการนำเข้า-ส่งออกปลาสวยงามจาก AVS  

1. เอกสารสำหรับการสมัครขอรับใบอนุญาต

1.1. ผู้ขอใบอนุญาตการนำเข้า-ส่งออก ต้องเป็นผู้ที่ถือสัญชาติสิงคโปร์ ผู้พำนักถาวร หรือผู้ถือบัตรแรงงาน เท่านั้น

1.2. แผนผังพื้นที่สำหรับการเลี้ยง การพัก และการบรรจุปลาสวยงาม ก่อนการส่งออกและหลังการน าเข้า ในสิงคโปร์

1.3. เอกสารการจดทะเบียนบริษัทในสิงคโปร์

1.4. สำเนาสัญญาเช่าสถานที่ในสิงคโปร์ (ถ้ามี)

2. ค่าธรรมเนียมใช้ในการขอใบอนุญาต 
  

ใบอนุญาต Cost and validity 
ใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกปลาสวยงาม • 350 เหรียญสิงคโปร์ ตอ่ 1 ใบอนุญาต • ใบอนุญาตเป็นแบบปีต่อปี 
 
3. ขั้นตอนการขออนุญาตการนำเข้า

3.1. การขอใบรับรอง Import Health จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ? Spring viraemia of carp (SVC) ? Koi herpesvirus disease (KHV) ? Epizootic ulcerative syndrome (EUS) ? Epizootic haematopoietic necrosis (EHN) ? White spot disease (WSD) ? Furunculosis (Aeromonas Salmonicida)

3.2. การยื่นขอใบอนุญาตน าเข้ากับ AVS ผู้น าเข้าจะต้องได้รับใบอนุญาตน าเข้าที่ออกโดยหน่วยงาน AVS และใบอนุญาต CITES หากสายพันธุ์ปลา ที่นำเข้านั้นอยู่ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศในสัตว์ป่าและสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ 
ขั้นตอน คำอธิบาย 
ขั้นตอนที่ 1: ต้องมีใบอนุญาตการสง่ออกหรือส่งออกต่อ CITES ที่ออกโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศผู้ส่งออก 
ขั้นตอนที่ 2:
สมัครและรับใบอนุญาตนา เข้า CITES ที่ออกโดย AVS ผ่านทาง LicenceOne 
ขั้นตอนที่ 3:
ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจา นวน 12 เหรียญสิงคโปร์ ต่อสายพันธุ์ ทั้งนี้ ใบอนุญาตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมขั้นต่ ารวม 60 เหรียญสิงคโปร์ 
ขั้นตอนที่ 4: การสมัครทั้งหมดจะต้องส่งผ่าน TradeNet ก่อนเวลา 17:30 น. ในวันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี และก่อน 17.00 น. ในวันศุกร์ 
 
ที่มา : รายงานการวิจัยเรื่อง The ornamental fish industry in Singapore ของ Ph.D, Gen Hua YUE www.nparks.gov.sg / http://apolloaq.com.sg/our-facility/ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์ / พฤษภาคม 2562 

แสดงความคิดเห็น

กรุณาคลิก เข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมัครสมาชิกเว็บไซต์ เพื่อการใช้งานที่ดีเยี่ยม

สมาชิกเว็บไซต์สามารถใช้งานฟีเจอร์ของเว็บไซต์ได้อย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสมัครเรียนกับ iTi การส่งสมัครงาน การใช้ระบบพิกัด/คำวินิจฉัย การรับช่าวสาร อ่านเพิ่มเติม