ข่าวสาร

ข่าว กิจกรรม และหลักสูตรอบรม ประกาศสำคัญที่ทุกท่านสนใจ

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเร่งพัฒนาพื้นที่ท่าเรือน้ำโขงตั้งเครนหนุนส่งออกผ่านตู้คอนเทนเนอร์

25 May 2020
 101

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเร่งพัฒนาพื้นที่ท่าเรือน้ำโขง
ตั้งเครนหนุนส่งออกผ่านตู้คอนเทนเนอร์


ปัจจุบันท่าเรือหลายแห่งในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง 4 ชาติคือไทย สปป.ลาว เมียนมาและจีน มีการปิดดำเนินการโดยเฉพาะ สปป.ลาว ปิดพรมแดนเพื่อป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ท่าเรือของประเทศไทยได้เปิดให้มีการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนแห่งที่ 2 ได้ ทำให้มีการส่งออกสินค้าไปยังท่าเรือบางแห่งที่เปิดรับสินค้าไทย เช่น ท่าเรือสบหรวย ประเทศเมียนมา นายอธิรัฐ กล่าวว่าผลประกอบการของท่าเรือแม่น้ำโขงที่เชียงราย ขาดทุนปีละ 4-5 ล้านบาท ทั้งที่มีศักยภาพสูงจึงเห็นว่าหากมีการบูรณาการกันทุกฝ่ายจะพัฒนาให้ดีกว่านี้ได้ โดยเฉพาะพื้นที่โล่งของท่าเรือที่มีประมาณ 30 ไร่ แต่กลับไม่ได้ใช้ประโยชน์ จึงควรจะเปิดให้มีการลงทุนภายในสถานที่ของท่าเรือแบบไม่จำกัดเฉพาะธุรกิจโลจิสติกส์หรือการค้าชายแดนเท่านั้น
 

“การดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม อาจสามารถประสานกลุ่มทุนในเครือข่าย โดยเฉพาะจากจีนเข้ามาลงทุน โดยมีการคิดค้นจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายใน และเมื่อเห็นผลเป็นรูปธรรม การท่าเรือแห่งประเทศไทยก็สามารถหางบมาสนับสนุนพัฒนาเพิ่มเติมได้อีก”รวมถึงกรณีภาคเอกชน จ.เชียงราย ได้ร้องขอให้มีการติดตั้งเครนยกสินค้าที่ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนแห่งที่ 2 ด้วย เพราะที่ผ่านมาการของบประมาณทำไม่ได้เต็มที่ เพราะผลประกอบการที่ขาดทุน ปริมาณตู้สินค้า-กิจกรรมทางการค้าที่ท่าเรือยังไม่มากพอ แต่หากมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น การสนับสนุนก็จะง่ายขึ้น ทางกระทรวงคมนาคมจะรับประสานกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ ฯลฯ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนต่อไปอย่างไรก็ตามเบื้องต้นจะให้เช่าเครนมาให้บริการภาคเอกชนไปก่อน พร้อมกับตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาการพัฒนาในภาพรวมทั้งหมด และในอนาคตก็จะมีการจัดซื้อเครนใหม่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาท่าเรือทั้ง 2 แห่งนี้ต่อไปทั้งนี้ในการประชุมระหว่างรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การท่าเรือแห่งประเทศไทยแจ้งว่าจากการประเมินการพัฒนาท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนแห่งที่ 2 จะต้องมีตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่าเรือเดือนละ 200-300 ตู้ แต่ปัจจุบันมีเพียงปีละประมาณ 100 ตู้เท่านั้น ดังนั้นจึงเปิดให้เอกชนนำเครนไปให้บริการผู้ประกอบการค้าขณะที่ภาคเอกชนระบุว่าที่ผ่านมาสินค้าที่ส่งออกมีทั้งที่บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ และเปิดตู้เพื่อทำพิธีการส่งออก รวมทั้งต้นทุนในการใช้บริการเครนยกสินค้าสูงถึงตู้ละ 10,000-20,000 บาท ทำให้สินค้าส่งออกแบบคอนเทนเนอร์เต็มรูปแบบมีน้อย แต่หากภาครัฐมีเครนสนับสนุนและคิดราคาต่ำกว่านี้ก็จะทำให้ปริมาณตู้สินค้าเพิ่มขึ้นมากเองโดยอัตโนมัติ
 

น.ส.ผกายมาศ เวียร์รา รองประธานหอการค้า จ.เชียงราย กล่าวว่าปัจจุบันการจัดหาสินค้าส่งออกประเทศลุ่มแม่น้ำโขงโดยเฉพาะจีนตอนใต้ทำกันแทบไม่ทัน เพราะตลาดมีความต้องการสินค้าประเภทผลไม้ ผัก อาหารแช่แข็ง ฯลฯ ในปริมาณมาก แต่ส่งออกช่องทางอื่นแทน แต่ถ้าท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนที่ถือเป็นศูนย์กลางการค้าลุ่มแม่น้ำโขงพัฒนาระบบเครนก็จะดึงดูดให้มีการส่งออกด้านนี้ได้มากและทำให้ปริมาณตู้สินค้าเพิ่มมากขั้นตามมาเองสำหรับท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนแห่งที่ 2 มีความยาวกว่า 250 เมตร มีแอ่งท่าเรือกว้างประมาณ 70 ไร่ รองรับเรือสินค้าได้วันละ 12-14 ลำ และยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั้งอาคาร สถานที่ ฯลฯ ขณะที่ด่านศุลกากรเชียงแสนระบุว่าในปี 2662 มีการส่งออกสินค้าผ่านท่าเรือเชียงแสน 11,681.92 ล้านบาท นำเข้า 583.80 ล้านบาท และปี 2563 จนถึงเดือน เม.ย.2563 มีการส่งออกแล้ว 4,682.40 ล้านบาท และนำเข้า 245 ล้านบาท สินค้าส่งออกส่วนใหญ่คือน้ำมันเชื้อเพลิง โคและกระบือมีชีวิต ขิ้นส่วนไก่แช่แข็ง ฯลฯ ส่วนสินค้านำเข้าส่วนใหญ่คือกระเทียมสด เมล็ดดอกทานตะวัน มันฝรั่ง

 

แสดงความคิดเห็น

กรุณาคลิก เข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมัครสมาชิกเว็บไซต์ เพื่อการใช้งานที่ดีเยี่ยม

สมาชิกเว็บไซต์สามารถใช้งานฟีเจอร์ของเว็บไซต์ได้อย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสมัครเรียนกับ iTi การส่งสมัครงาน การใช้ระบบพิกัด/คำวินิจฉัย การรับช่าวสาร อ่านเพิ่มเติม