ข่าวสาร

ข่าว กิจกรรม และหลักสูตรอบรม ประกาศสำคัญที่ทุกท่านสนใจ

การใช้ใบรับรองถิ่นกำเนิดอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการขยายตัวการใช้สิทธิพิเศษความตกลงการค้าเสรี

29 May 2020
 310

การใช้ใบรับรองถิ่นกำเนิดอิเล็กทรอนิกส์

เพื่อรองรับการขยายตัวการใช้สิทธิพิเศษความตกลงการค้าเสรี

 

การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเพื่อยกเว้นอากรและลดหย่อนอัตราศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้าตามความตกลงการค้าเสรี (FTA) ทั้งในระดับทวิและพหุภาคี เป็นนโยบายในการส่งเสริมการค้าและลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อให้เกิดการค้าเสรีระหว่างกัน ในช่วง 5 ปีงบประมาณที่ผ่านมามูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ใช้สิทธิพิเศษตามความตกลงการค้าและสัดส่วนการใช้สิทธิพิเศษต่อมูลค่าการนำเข้ารวมมีทิศทางขยายตัวต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันได้ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของศุลกากรที่นำส่งเป็นรายได้ของรัฐบาลอย่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้กรมศุลกากรปรับเปลี่ยนบทบาทโดยเน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้าเพิ่มมากขึ้น

 

 

ความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA)

ความตกลงการค้าเสรีเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มให้เหลือน้อยหรือเป็น0 และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม ปัจจุบันประเทศไทยมีความตกลงที่มีผลบังคับใช้แล้วทั้งหมด 14 ความตกลง ซึ่งมีทั้งความตกลงการค้าระหว่าง 2 ประเทศหรือระดับทวิภาคีและระดับกลุ่มประเทศหรือพหุภาคี โดยในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลงทางการค้าเพื่อยกเว้นอากรและลดหย่อยอัตรอากรจำเป็นต้องใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิด Certificate of Origin ที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้กับผู้ส่งออกจากประเทศส่งออกนำมายื่นในประเทศที่นำเข้า

 

แนวโน้มและผลกระทบการใช้สิทธิพิเศษตามความตกลงการค้าเสรี

แนวโน้มมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษตามความตกลงการค้าเสรีขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับสัดส่วนการใช้สิทธิพิเศษต่อมูลค่าการนำเข้าร่วมมีทิศทางที่เพิ่มขค้นต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2562 มีมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษตามความตกลงการค้าเสรี 1.26 ล้านล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวของปีก่อนร้อยละ5.6 มีสัดส่วนในการใช้สิทธิพิเศษต่อมูลค่าการนำเข้ารวมร้อยละ 16.4 สูงขึ้นจากร้อยละ15.0 ของปีก่อน ความตกลงการค้าเสรีที่มูลค่าการใช้สิทธิพิเศษสูงสุด 5 อันดับคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 95.5 ของการใช้สิทธิพิเศษทั้งหมดได้แก่ อาเซียน-จีน, อาเซียน(ATIGA), ไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA),อาเซียน-เกาหลี, และอาเซียน-อินเดีย ซึ่งทั้งหมดมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษขยายตัวต่อเนื่อง

 

ผู้นำเข้าของได้รับประโยชน์จากการใฃ้สิทธิพิเศษโดยได้รับการยกเว้น/ลดหย่อนอากร/ประมาณ1.76แสนล้านบาทในงบประมาณปี 2562 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนที่ได้รับการยกเว้น/ลดหย่อนเพิ่ทขึ้นจำนวน 1.6 หมื่นล้านบาทหรือร้อยละ10.0 โดยกลุ่มสินค้าที่ได้รับยกเว้น/ลดหย่อนอากรสูงสุดในปี 2562 ได้แก่ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า ผลไม้ พืชผัก(สินค้าเกษตร) เหล็ก และเครื่องจักร ซึ่งส่วนใหญ่อัตราอากรสูงขณะที่สินค้าที่ได้รับยกเว้น/ลดหย่อนอากรเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบกับปีก่อน5อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์นั่ง ข้าวโพด เห็นหูหนูแห้ง ปลาแปรรูป และรถโดยสาร

 

การสร้างความร่วมมือเพื่อเพื่อจัดทำแผนเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการขยายตัวของการใช้สิทธิพิเศษตามความตกลงการค้าเสรีที่มีแนวโน้มสูงขึ้นลำจำนวนความตกลงการค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต อนุสัญญาเกียวโต (ฉบับแก้ไข)ขององค์การศุลกากรโลกWCO เสนอแนวทางปรับปรุงพิธีการศุลกากรเพื่อให้ประเทศสมาชิกใช้เป็นมาตรฐาน รวมถึงใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนการปฏิบัติงานศุลกากรและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน สอดคล้องกับสถานการณ์การค้าและความท้าทายในปัจจุบันซึ่งปริมาณการค้าสูงขึ้นรวมทั้งการใช้สิทธิพิเศษที่เพิ่มขึ้นเป็นประโยชน์ต่อทั้งการอำนวยความสะดวกทางการค้าและควบคุมทางศุลกากร ที่ผ่านมากรมศุลกากรได้ดำเนิการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียนตามกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียนโดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า(ATIGA FormD) หรือเรียกว่า E-Form D สำหรับสินค้านำเข้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าในภูมิภาค ดังนั้นเล็งเห็นว่าการขยายความร่วมมือเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวในความตกลงการค้าเสรีอื่นๆจะช่วยลดระยะเวลา ลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการลดระยะเวลาการตรวจสอบเอกสารของเจ้าหน้าที่ศุลากากรในกระบวนการตรวจปล่อยสินค้าและเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบความถูกต้องของการได้สิทธิ โดยควรเริ่มดำเนินการจากความตกลงหลักที่มีมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษสูง เช่น อาเซียน-จีนและไทย-ญี่-ปุ่นด้วยประเทศไทยมีประสบการณ์และความพร้อมในการดำเนินการ สามารถเป็นผู้นำในการผลักดันข้อเสนอต่อที่ประชุมกรอบความร่วมมือเพื่อขอความเห็นชอบและจัดทำบันทึกความตกลง MOUแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือในการจัดทำแผนเชื่อมโยงข้อมูลแลกเปลี่ยนหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ อันจะเป็นการยกระดับการอำนวยความสะดวกทางการค้าและลดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการสวมสิทธฺ(การใช้สิทธิพิเศษที่ไม่ถูกต้อง) ซึ่งจะเป็นการอุดรอยรั่วไหลและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากรสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ศุลกากรในการพัฒนากระบวนงานและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการจัดเก็บภาษีโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

 

(ข้อมูลจากกรมศุลกากร)

 

 

 

แสดงความคิดเห็น

กรุณาคลิก เข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมัครสมาชิกเว็บไซต์ เพื่อการใช้งานที่ดีเยี่ยม

สมาชิกเว็บไซต์สามารถใช้งานฟีเจอร์ของเว็บไซต์ได้อย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสมัครเรียนกับ iTi การส่งสมัครงาน การใช้ระบบพิกัด/คำวินิจฉัย การรับช่าวสาร อ่านเพิ่มเติม